กลอนดอกสร้อย
ผู้จัดทำคำนำแบบทดสอบก่อนเรียนมดง่ามกับจักจั่นคนตัดไม้กับเทวาชาวนากับงูเห่าไก่ได้พลอยลากับจิ้งหรีดแบบทดสอบหลังเรียน

กลอนดอกสร้อย

 

 

เสียงสัมผัสในกลอน 
กลอนเสภา 
กลอนดอกสร้อย 
กลอนสักวา 

 

ลักษณะของกลอนดอกสร้อย

ตัวอย่าง

กฎ

กลอนดอกสร้อยเป็นกลอนอีก
ลักษณะหนึ่งที่มีความนิยมแต่งกัน
มาก
การแต่งกลอนดอกสร้อยส่วนใหญ่
ใช้แสดงความรู้สึกและ
ความคิดเห็นที่สามารถจบลง
อย่างสั้นๆ    เพราะกลอนดอกสร้อย
๑ บท คือกลอนสุภาพ ๒ บท
 

ความรู้
ความเอ๋ญความรู้
ทุกอย่างอาจเป็นครูหากศึกษา
เห็นสิ่งใดใช้สมองลองปัญญา
ใคร่ครวญหาเหตุผลจนแจ้งใจ
อันความรู้เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จบ
ยิ่งค้นพบก็ยิ่งมีที่สงสัย
ใช้ความรู้ผิดทางสร้างทุกข์ภัย
รู้จักใช้ทำประโยชน์สุขโสตย์เอย
(ดอกสร้อยร้อยแปด : ฐะปะนีย์  นาครทรรพ)

 ๑.กลอนดอกสร้อยบทหนึ่งม
ี     ๔ คำกลอน หรือ ๘ วรรค
      วรรคหนึ่งใช้คำ ๖-๘ คำ
๒. วรรคแรกที่ขึ้นต้น
    โดยมากมี ๔  คำ  คำที่ ๑
    กับคำที่ ๓ ต้องซ้ำคำเดียว
    กัน  คำที่ ๒ ค้องเป็นคำว่า
  " เอ๋ย" ส่วนคำที่ ๔  เป็น
     คำอื่นที่รับกัน เช่น
     นักเอ๋ยนักเรียน
     เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
๓.กลอนดอกสร้อยจะต้อง
    ลงท้ายด้วยคำว่า"เอย"เสมอ
     แต่ถ้าเป็นกลอนดอกสร้อย
     ในบทละครไม่ต้องลงท้าย
      ด้วยคำว่าเอย
๔.สัมผัสและลักษณะไพเราะ
    อื่นๆเหมือนกลอนสุภาพ

 

 

 

 

 

.จัดทำโดย ครูไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี . และคณะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Copyright(c)2009 Mrs.Isuree Ruengratmanee.All rights reserved.